วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

การสร้างตาราง

การแทรกตาราง

คำสั่งหรือ Tag ที่ใช้ในการสร้างตารางคือ <table>...</table>
     ในการสร้างตารางนั้น ในเบื้องต้นต้องใช้คำสั่งหรือแท็กดังต่อไปนี้
     <table>...</table> เป็นการบอกจุดเิ่ริ่มต้นและจุดสิ้นสุดในการสร้างตาราง
     <tr>....</tr>           เป็นการบอกจำนวนแถว (row)
     <td>...</td>           เป็นการบอกจำนวนคอลัมน์ (colunm)

ตัวอย่างการสร้างตาราง

ผลลัพธ์
การปรับความกว้างและความสูงให้กับตาราง
     การกำหนดความกว้างและความสูงให้กับตารางโดยใช้แอททริบิวต์ width และ height ในแท็ก <table> ซึ่งสามารถกำหนดได้ 2 รูปแบบดังนี้

      1.กำหนดเป็นเปอร์เซ็น ซึ่งจะปรับขนาดตารางตามขนาดหน้าจอของเบราว์เซอร์ในขณะนั้น
<table width="50%" height="60%">       2.กำหนดความกว้าง และความยาวเป็นจุด (pixel) ซึ่งขนาดตารางจะไม่ปรับตามขนาดหน้าจอของเบราว์เซอร์
ในขณะแสดงผล วิธีนี้จะไม่ทำให้ตารางและข้อมูลในตารางขยับเปลี่ยนตำแหน่ง
<table width="400" height="200">


ตัวอย่างการกำหนดความกว้างและความสูงของตาราง
<html>
<head>
<title>การสร้างตาราง</title>
</head>
<body>
การกำหนดความกว้างและความสูงของตาราง <br>
<hr>
<table border="1" cellspacing="5" width="500" height="400">
<caption align="bottom">ตารางที่ 1 การทดลองสร้างตาราง </caption>
<tr><td> แถว 1 คอลัมน์ 1 </td><td> แถว 1 คอลัมน์ 2 </td></tr>
<tr><td> แถว 2 คอลัมน์ 1 </td><td> แถว 2 คอลัมน์ 2 </td></tr>
<tr><td> แถว 3 คอลัมน์ 1 </td><td> แถว 3 คอลัมน์ 2 </td></tr>
</table>

</body>
</html>
ผลลัพธ์

การกำหนดความกว้างและความสูงของตาราง

ตารางที่ 1 การทดลองสร้างตาราง
 
แถว 1 คอลัมน์ 1 แถว 1 คอลัมน์ 2
แถว 2 คอลัมน์ 1 แถว 2 คอลัมน์ 2
แถว 3 คอลัมน์ 1 แถว 3 คอลัมน์ 2
การตีเส้น และสีเส้นตาราง การกำหนดระยะห่างระหว่างช่องเซลล์ และการเว้นระยะข้อมูลในเซลล์
     หากต้องการให้มีเส้นตาราง ต้องมีการใช้คุณสมบัติหรือแอททริบิวต์ border ช่วย ซึ่งจะต้องเขียนไว้ในแท็ก <table> ดังนี้ <table border="1">       นอกจากความหนาของเส้นตารางแล้ว ยังมีแอททริบิวต์ที่กำหนดสีของเส้นตาราง bordercolorความห่างของช่องเซล์ cellspacing และการเว้นระยะ ระหว่างข้อมูลในเซลล์ กับกรอบเซลล์ cellpadding โดยใช้แอททริบิวต์ดังต่อไปนี้ bordercolor,cellspacing และ cellpadding เขียนต่อท้่ายในแท็ก <table> ดังนี้ <table border="1" bordercolor="blue" cellspacing="5" cellpadding="10">

border="1"
หมายความว่าให้ตีเส้่นด้วยความหนาของเส้น 1 จุด (pixel) หากไม่ต้องการเส้นให้กำหนดค่า
เป็น "0" หรือไม่ต้องใช้แอททริบิวต์นี้
bordercolor="ค่าสี" หมายถึงกำหนดสีเ้ส้นตาราง สามารถระบุค่าสี เช่น "blue" คือสีน้ำเงิน หรือใส่เป็น
ค่าตัวเลขฐานสิบหกก็ได้
cellspacing="5" หมายถึงระยะห่างระหว่างช่องเซลล์มีค่าเป็น 5 จุด (pixel)
cellpadding="10" หมายถึงระยะห่างระหว่างข้อมูลในเซลล์กับกรอบเซลล์มีค่าเป็น 10 จุด (pixel)
การกำหนดข้อความกำกับให้กับตาราง <caption>
     สามารถใส่ข้อความกำกับตาราง เพื่อให้ทราบว่าตารางนั้นนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใด โดยมีรูปแบบดังนี้

<caption align="ตำแหน่ง">ข้อความกำกับตาราง</caption>       โดยค่า "ตำแหน่ง" มีดังนี้
           "top" หมายถึง อยู่กลางตารางด้านบน
           "bottom" หมายถึง อยู่กลางตารางด้านล่าง
           "left" หมายถึง อยู่ด้านบนซ้าย
           "right" หมายถึง อยู่ด้านบนขวา



การจัดตำแหน่งข้อมูลในตาราง


        ข้อมูลในตารางแต่ละช่องสามารถจัดตำแหน่งให้อยู่ ชิดซ้าย ชิดขวา หรือตรงการเซลล์ได้ โดยการใช้ แอททริบิวต์ align="ตำแหน่งของข้อมูล" ลงในแท็ก <tr> หรือ <td> เช่น
              <tr align="center"><td> แถว 1 คอลัมน์ 1 </td><td> แถว 1 คอลัมน์ 2 </td></tr>
               หมายถึง จัดตำแหน่งข้อมูลแถวที่ 1 ทั้งแถวให้อยู่ตรงกลางเซลล์
              <tr><td align="center"> แถว 1 คอลัมน์ 1 </td><td> แถว 1 คอลัมน์ 2 </td></tr>
              หมายถึง จัดตำแหน่งข้อมูลในแถวที่ 1 คอลัมน์ที่ 1 ให้อยู่ตรงกลางเซลล์ เพียงเซลล์เดียว

           "ตำแหน่งของข้อมูล" มีดังนี้
                    "center"  หมายถึง อยู่ตรงกลางเซลล์
                    "justify"  หมายถึง เต็มช่องเซลล์
                    "left"       หมายถึง อยู่ชิดด้านซ้ายเซลล์
                    "right"    หมายถึง อยู่ชิดด้านขวาเซลล์



         เป็นการผสานเซลล์ตั้ง 2 เซลล์ขึ้นไป เหมือนตารางใน Microsoft Word หรือ Microsoft Excel การรวมเซลล์มี 2 ลักษณะ คือ การรวมคอลัมน์ และการรวมแถว
 
                 1) การรวมคอลัมน์
          เป็นการรวมเซลล์ตามแนวนอนตั้งแต่ 2 เซลล์ขึ้นไป เป็นเซลล์เดียวกัน โดยใช้คำสั่ง COLSPAN กำหน ดไว้ในคำสั่ง <TD> 
                 
รูปแบบ 
                                  <TR> <TD COLSPAN = " จำนวนคอลัมน์ที่รวม " > ข้อความ </TD> </TR> เช่น
                                              <TD COLSPAN = "3">จำนวนนักเรียน</TD>
                                 เป็นคำสั่งรวมคอลัมน์จำนวน 3 คอลัมน์มาเป็น 1 เซลล์ และในเซลล์นั้นจะมีข้อความ จำนวนนักเรียน

                ตัวอย่าง

                              ภาพแสดงการใช้คำสั่ง colspan                                                      ภาพแสดงผลการใช้คำสั่ง colspan 
 
                      2) การรวมแถว
          เป็นการรวมเซลล์ตามแนวตั้ง ตั้งแต่ 2 เซลล์ขึ้นไป เป็นเซลล์เดียวกัน โดยใช้คำสั่ง ROWSPAN กำหนดไว้ในคำสั่ง <TD> เหมือนการรวมคอลัมน์                      รูปแบบ
                               <TR> <TD ROWSPAN ="จำนวนแถวที่รวม"> ข้อความ </TD></TR>
                         เช่น
                                <TD ROWSPAN ="2">ลำดับที่</TD> เป็นคำสั่งรวมแถวจำนวน 2 แถวมาเป็น 1 เซลล์ และในเซลล์นั้นจะมีข้อความ ลำดับที่

                       ตัวอย่าง

                               ภาพแสดงการใช้คำสั่ง rowspan และ colspan
          จากตัวอย่างมีการใช้ำคสั่ง &nbsp;   เป็นการกำหนดช่องว่างให้กับเซลล์ หากไม่กำหนดเซลล์ในตารางจะไม่เห็นเส้นขอบ   ดังภาพ



อ้างอิง
http://school.obec.go.th/pp_school/html/table.html
https://sites.google.com/site/cirayus/sux-kar-reiyn-ru/kar-srang-tarang
http://www.thainextstep.com/html/html_08.php
http://www.kty.ac.th/html/unit5/unit503.html'