วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การแต่งตัวอักษร

การแต่งตัวอักษร
การกำหนดแบบอักษร
เมื่อคุณใส่ tag <font face="ชื่อแบบอักษร"> ลงไปข้อความเหล่านั้นก็จะเปลี่ยนเป็นแบบมี่คุณเลือก 
<body> 
<font face="AngsanaUPC">สวัสดีจ้า ทุกคน</font> 
<font face="CordiaUPC">สวัสดีจ้า ทุกคน</font> 
<font face="MS sans serif">สวัสดีจ้า ทุกคน</font> 
</body>
แบ่งตามลักษณะที่ปรากฏ เช่นตัวเอียง ตัวหนา

      <B>
<I>
<S>
<Sub>
<Sup>  
<U>
ตัวอักษรแบบตัวหนา (bold) 
ตัวอักษรแบบตัวเอียง (italic) 
ตัวอักษรแบบตัวขีดฆ่า (strike) 
ตัวอักษรแบบตัวห้อย (subscripted) 
ตัวอักษรแบบตัวยก (superscripted) 
ตัวอักษรแบบขีดเส้นใต้ (underline)

แบ่งตามการใช้งาน เช่น ใช้กับคำพูดหรือวลี ใช้กับข้อความที่สำคัญมาก
        <Em>
<Stong>
<Ins> 
<Del> 
<Code> 
<Address> 
ใช้เน้นข้อความ คำพูดหรือวลี (emphasized) 
ใช้เน้นข้อความที่สำคัญมากๆ (strong) 
ใช้เน้นข้อความที่แก้ไขเพิ่มเติม (inserted) 
ใช้บอกว่าข้อความนี้ถูกลบไปแล้ว (deleted) 
ใช้บอกว่าข้อความที่เป็นโปรแกรม (computer code) 
ใช้บอกว่าข้อความที่เป็นที่อยู่ (computer code) 


    ซึ่งจริงแล้วนั้น ผลลัพธ์ออกมาก็เหมือนกัน เช่น B ให้ผลลัพธ์เหมือนกับ Strong เราจะเลือกใช้แบบใดก็ได้ แต่เราแยกเพื่อความสะดวกในการใช้งานมากกว่า 

คำสั่งที่ทำให้รูปแบบตัวอักษรใน soure code เหมือนกับที่แสดงผล
    Pre tag จะมีประโยชน์มากในการที่เราจะแสดงบทความที่มีเนื้อหามาก หรือ คัดลอกเนื้อหาจากที่อื่นมาทำให้เราไม่ต้องขึ้นบรรทัดใหม่ด้วยคำสั่ง br และใช้ในการแสดง source code ได้ดีอีกด้วย

รูปแบบของ Pre tag

<pre> ..... </pre>

คำสั่งแสดงสัญลักษณ์พิเศษต่างๆ
    สัญลักษณ์พิเศษบางตัวเช่น เครื่องหมายมากว่า (>) หรือ เครื่องหมายน้อยกว่า (<) ซึ่งเครื่องหมายเหล่านี้ใช้ในภาษา HTML ด้วยทำให้ตัวอักษรที่อยู่ในเครื่องหมายเหล่านี้กลายเป็น Tag หมด หรือเครื่องหมายที่ไม่มีบนคีบอร์ด แต่ถ้าเราต้องการแสดงเครื่องหมายเหล่านี้เราต้องใช้ Entity Name แทน ตามแบบด้านล่าง


ขนาดตัวอักษร
สามารถกำหนดขนาดของตัวอักษรได้ 2 วิธี
1. ในกรณีที่เป็นหัวข้อ (Heading) สามารถใช้คำสั่งต่อไปนี้

<H1>ขนาดใหญ่สุด</H1>
<H2>ขนาดใหญ่</H2>
<H3>ขนาดกลาง</H3>
<H4>ขนาดปกติ</H4>
<H5>ขนาดเล็ก</H5>
<H6>ขนาดเล็กสุด<H6>
2. ในกรณีทั่วไป จะใช้คำสั่ง <FONT SIZE=ค่าตัวเลข> เช่น

<FONT SIZE=3>ตัวอักษรขนาด 3</FONT> หรือ
<FONT SIZE=5>ตัวอักษรขนาด 5</FONT> 

ตัวอย่างโค้ด
<html>
<head><title>webthaidd</title></head>
<body>
<font size=1>แสดงข้อความที่มีขนาด n=1</font><br>
<font size=2>แสดงข้อความที่มีขนาด n=2</font><br>
<font size=3>แสดงข้อความที่มีขนาด n=3</font><br>
<font size=4>แสดงข้อความที่มีขนาด n=4</font><br>
<font size=5>แสดงข้อความที่มีขนาด n=5</font><br>
<font size=6>แสดงข้อความที่มีขนาด n=6</font><br>
<font size=7>แสดงข้อความที่มีขนาด n=7</font><br>
</body>
</html>
ผลที่ได้
สีตัวอักษร
รูปแบบคำสั่ง : <font color=ชื่อสีหรือ#รหัสสี > .....ข้อความ...... </font>. [ตารางค่ารหัสสี]
คำอธิบาย : เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตกแต่งอักษรให้เป็นสีต่างๆ ตามชื่อสีหรือรหัสสี โดยนำคำสั่งนี้ไปคร่อมข้อความที่จะตกแต่ง

ตัวอย่าง : การตกแต่งสีอักษร 
รูปแบบคำสั่งการแสดงผล
<HTML>
<HEAD>
<TITLE> 
การใส่สีอักษร</TITLE>
</HEAD>
<BODY bgcolor=white> 
<font color=red> อักษรสีแดง </font> <br>
<font color=blue> อักษรสีน้ำเงิน </font> 
<br>
<font color=#66CCFF> อักษรสีฟ้า </font> 
<br>
</BODY>
</HTML>
อักษรสีแดง 
อักษรสีน้ำเงิน 
อักษรสีฟ้า 


Click to TOP


ตัวเอียง ตัวหนา ขีดเสีนใต้
รูปแบบคำสั่ง :<B>...ข้อความ..... </B> :คำสั่งตัวหนา
<I>...ข้อความ..... </I> 
:คำสั่งตัวเอียง<U>...ข้อความ..... </U> :คำสั่งขีดเส้นใต้
คำอธิบาย : เมื่อเราต้องการทำให้ตัวอักษรหนา เอียง หรือขีดเส้นให้ ให้นำคำสั่งข้างต้นไปคร่อม ข้อความนั้นไว้ อย่างเช่น ต้องการแต่งคำว่า "สุระ วรรณแสง" ให้เอียงและหนา ให้ทำดังนี้ : <I><B> การเขียนเว็บเพจด้วยภาษา HTML</B></I> ผลลัพธ์ที่ได้คือ การเขียนเว็บเพจด้วยภาษา HTML 

ตัวอย่าง : ทดสอบการทำตัวอักษรหนา,เอียง,ขีดเส้นใต้ 
รูปแบบคำสั่งการแสดงผล
<HTML>
<HEAD>
<TITLE> 
การใส่สีอักษร</TITLE>
</HEAD>
<BODY bgcolor=white>
<font size=2 face="ms sans serif"><B>ข้อความหนา</B><br><I>ข้อความเอียง</I><br>   <U>ข้อความขีดเส้นใต้<U><br>  
<B><I>ข้อความหนา+เอียง</I></B><br>  
<B><I><U>ข้อความหนา+เอียง+ขีดเส้นใต้</U></i></B> <br> 
<I><U>ข้อความเอียง+ขีดเส้นใต้</U></I><br>  
<U><B>ข้อความขีดเส้นใต้+หนา</B></U><br> 
</font> 
 
</BODY>
</HTML>
ข้อความหนา
ข้อความเอียง
ข้อความขีดเส้นใต้
ข้อความหนา+เอียง
ข้อความหนา+เอียง+ขีดเส้นใต้
ข้อความเอียง+ขีดเส้นใต้
ข้อความขีดเส้นใต้+หนา


ตัวอักษรวิ่ง ตัวอักษรกระพริบ

ตัวอักษรกระพริบ

เป็นคำสั่งที่ใช้กำหนดตัวอักษรที่อยู่ใน Tag เกิดการกระพริบ ซึ่งคำสั่งนี้จะใช้ได้กับ Browser ของ Netscape เท่านั้น
รูปแบบคำสั่ง
<BLINK>......</BLINK>
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
<HTML>
<HEAD>
<TITLE>
ตัวอักษรกระพริบ</TITLE>
</HEAD>
<BODY> 
<BLINK>welcome</BLINK>
</BODY>
</HTML>

การแสดงผล


การทำตัวอักษรวิ่ง
          นอกจากเราจะใช้ตัวอักษรปกติที่กำหนดให้วางไว้ตำแหน่งใด ๆ ของเว็บเพจ ซึ่งก็อยู่ตรงนั้นตลอดเวลา เราสามารถกำหนดให้ตัวอักษรเคลื่อนที่ได้อีกด้วย ทั้งเคลื่อนจากซ้ายไปขวา เคลื่อนที่จากขวาไปซ้าย เคลื่อนที่จากข้างล่างขึ้นข้างบน หรือเคลื่อนที่จากข้างบนลงข้างล่าง ซึ่งเทคนิคนี้มีหลาย ๆ เว็บไซต์
นำไปใช้ในการตกแต่งเวบเพจ
รูปแบบคำสั่ง HTML ที่ใช้ในการทำตัวอักษรวิ่ง
          <MARQUEE direction="ทิศทางการวิ่ง" width="ความกว้าง"   height="ความสูง"
          scrollamount=ความเร็วในการวิ่ง  scrolldelay="เวลาหน่วง">ข้อความ</MARQUEE>
ทิศทางการวิ่ง
ทิศทาง
คำอธิบาย
UP
วิ่งจากด้านล่างขึ้นด้านบน
DOWN
วิ่งจากด้านบนลงด้านล่าง
LEFT
วิ่งจากด้านขวาไปด้านซ้าย
RIGHT
วิ่งจากด้านซ้ายไปด้านขวา
ตัวอย่างโปรแกรม 

<HTML>
<HEAD>
<TITLE>การทำตัวอักษรวิ่ง</TITLE>
</HEAD>
<BODY>
      <marquee><font size=4 color="red">ราชธานีเก่า เมืองอู่ข้าว อู่น้ำ เลิศล้ำกานต์์กวี คนดีศรีอยุธยา </marquee>
</BODY>
</HTML>


ผลลัพธ์ที่ได้
ราชธานีเก่า เมืองอู่ข้าว อู่น้ำ เลิศล้ำกานต์กวี คนดีศรีอยุธยา




การจัดตำแหน่งข้อความ
ในการกำหนดตำแหน่งในภาษา HTML สามารถกำหนดได้หลายรูปแบบค่ะ ทั้งแบบกำหนดเป็นแท็ก และการกำหนดเป็น Attribute ของแท็กค่ะ โดยมีรูปแบบดังนี้ค่ะ
           1. การกำหนดให้อยู่ตำแหน่งกึ่งกลางด้วยแท็ก Center  <center> ...ข้อความ...</center>
           2. การกำหนดตำแหน่งโดยใช้ Attribute ของแท็ก <p> โดยใช้ Attribute align รูปแบบดังนี้ 
                       <p align = "ตำแหน่ง"> 
...ข้อความ...</p>
               
ตำแหน่งที่สามารถระบุได้ คือ left center หรือ right
 รูปแบบการจัดตำแหน่งข้อความ

  <html>
  <head><title> 
....การจัดตำแหน่งข้อความ....</title></head>
       <body>
               <center><font size = "2"> 
ข้อความนี้อยู่กึ่งกลาง</font></center><br>
               <p align = "left"><font size = "2"> 
ข้อความชิดซ้าย </font></p><br>
               <p align = "center"><font size = "2"> 
ข้อความนี้อยู่กึ่งกลาง </font></p><br>
               <p align = "right"><font size = "2"> ข้อความนี้ชิดขวา </font></p><br>
        </body>
  </html>

นอกจาก คำสั่ง align ทั้งสามแบบแล้ว ยังมีการจัดตำแหน่งอีกแบบหนึ่งค่ะ นั้นก็คือ 
<p align="justify">....</p>นิยมใช้จัดข้อความที่เป็นเนื้อหาเยอะ ๆ เพื่อให้มีการจัดข้อความอัตโนมัติ โดยข้อความที่จัดด้วยรูปแบบนี้ ข้อความทั้งซ้ายและขวา จะชิดขอบทั้งสองด้าน ทำให้ดูเป็นระเบียบ



อ้างอิง
http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it06/html03.html
http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:http://school.obec.go.th/phusing/html/chapter3.htm
http://113.53.238.199/it/elearning/html/html2.html
http://www.thainextstep.com/html/html_05.php
http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:http://school.obec.go.th/krurenu/html/p2-8.html
วันที่ 7 ก.ค. 2555


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น